|
![]() |
ที่ตั้ง หมู่ที่ 9 บ้านม่วงง้ม ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่โครงการ 4500 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 4500 ไร่ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2543 วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอ่าง ดินถม ความยาว 231 เมตร ความสูง 25 เมตร สันเขื่อนกว้าง 17 เมตร ระดับน้ำเก็บกัก 1,640 ลบ.ม. หน่วยงานและประชาชน ที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยแม่งาย โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย เทศบาลตำบลเมืองงาย, เทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ ประชาชนในเขตตำบลเมืองงาย โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้ถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ให้กับเทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 และเทศบาลตำบลพระธาตุปู่ก่ำ ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติต่อไป 18 เมษายน 2565 |
![]() | พระพุทธชยันตีศรีเมืองงาย (ตุ๊เจ้าตนหลวง) พระธาตุปู่ก่ำ “บ้านเมืองงาย” จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่น่านับถือ ได้เล่าว่า มีผู้มาตั้งถิ่นฐานในเขตบ้านเมืองงายนี้เรียกว่า ชาวโยนก เขาเรียกตนเองว่า "คนเมือง" หรือ "ชาวเมือง" อพยพมาจากถิ่นใดไม่ปรากฏ เริ่มแรกในการตั้งถิ่นฐานมีประมาณ 30 กว่าครอบครัวมีหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ "ปู่ก่ำ" ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงและอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำงายปัจจุบันนี้เรียกว่า "บ้านสันป่าไหน่" ต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่ง ได้เดินทางมาธุดงค์มาปักกลดอยู่ริมท่าน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้หมู่บ้านนี้ ชาวบ้านจึงพากันไปทำบุญตักบาตร โดยมีปู่ก่ำเป็นผู้นำ พระธุดงค์ได้รับความสะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติการบำเพ็ญกิจวัตร ชาวบ้านมีความเลื่อมใสพระองค์นี้มากจึงได้นิมนต์ท่านจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านนี้แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเพราะท่านต้องการออกเผยแพร่ศาสนาไปยังที่อื่นๆต่อไปอีกก่อนพระธุดงค์จะจากไปจึงได้มอบพระเกศาให้ปู่ก่ำไว้ เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชาปู่ก่ำพร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุพระเกศาของพระธุดงไว้บนยอดดอย อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพร้อมทั้งตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์แก่ปู่ก่ำว่า "พระธาตุปู่ก่ำ" และได้จัดประเพณีทำบุญ (ประเพณีสรงน้ำพระธาตุฯ) เป็นประจำทุกปี มาตราบ ทุกวันนี้ เอกสารอ้างอิง(เบิกฟ้าเชียงดาว.สภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงดาว,สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเชียงดาว ,พิมพ์ครั้งที่ 2/2545 ,นพบุรีการพิมพ์. หน้า 21 )
03 เมษายน 2564 |
![]() | พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์
ประวัติการสร้างพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์
สำหรับชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยู่เสมอว่า การที่พวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น เนื่องจากบริเวณบ้านเมืองงาย ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว เป็นสถานที่ที่พระองค์ได้ทรงยั้งทัพตั้งค่าย เป็นการเตรียมตัวเข้าโจมตีขับไล่อริราชศัตรู โดยมีหลักฐานปรากฏชัดจากไม้รั้วค่ายซึ่งยังมีอยู่มากในบริเวณนั้น ประกอบด้วยพระสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่นอกเขตไทยได้ชำรุดทรุดโทรมและถูกทำลายไป จึงควรจะได้สร้างขึ้นในที่แห่งนี้แทนพระเจดีย์องค์ที่ได้สูญเสียไปนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2508 ณ ที่แห่งนี้ และเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ได้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม ซึ่งประดิษฐาน ณ เมืองหาง รัฐไทยใหญ่ สหภาพพม่า ก่อนถูกทำลาย นอกจากนั้นในวันที่ 15 มกราคม 2512 ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระสิงห์วรวิหารฯ เพื่อทรงเททองเป็นปฐมฤกษ์ ด้วยพระบารมีของล้นเกล้าล้นกระหม่อมทั้งสององค์ ประชาชนได้มาร่วมพิธีและเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างล้นหลาม และประชาชนได้มาสั่งจองพระบูชาฯ พระเครื่องและสิ่งที่สร้างขึ้นในคราวนี้จนหมด สามารถมีทุนเพียงพอในการที่จะนำไปก่อสร้างพระสถูปเจดีย์และพระอนุสาวรีย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2513 ทางจังหวัดได้เรียนเชิญ พลเอก หลวงกัมปนาท แสนยากร องคมนตรี ไปเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์บรรจุแผ่นอิฐและบรรจุพระกริ่ง พระเครื่อง ไว้ในองค์พระสถูปเจดีย์ ในงานนี้ประชาชนได้เกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้านำแก้วแหวนเงินทองและสิ่งมีค่าอื่นๆ มาสมทบบรรจุไว้ในองค์พระสถูปนี้อย่างมากมาย และเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2513 จังหวัดได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่ออัญเชิญเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอนุสรณ์และพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในวันที่ 12 มกราคม 2514 ด้วยเดชาภินิหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอันมีพระสยามเทวาธิราชเป็นอาทิ ขอพระวิญญาณของพระองค์ซึ่งไม่ว่าทิพยวิมานชั้นฟ้าใดๆ ขอได้โปรดทรงรับรู้ในความยึดมั่นกตัญญู จงรักภักดี ของบรรดาชาวไทยทั้งมวลอันมีต่อพระองค์ท่านอย่างไม่มีเสื่อมคลาย และพวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอปฏิญาณต่อดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ว่าพวกเราพร้อมที่จะเจริญรอยตามพระยุคลบาท ในอันที่จะรักษาผืนแผ่นดินไทย ทุดกระเบียดนิ้วซึ่งพระองค์ได้พระราชทานไว้แก่คนทั้งมวล ให้ยืนยงคงอยู่ตราบชั่วฟ้าดินสลาย
สำหรับตัวสถูปพระเจดีย์ฯ เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม กว้าง 10.30 ม. สูง 25.12 ม. ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และแต่ละด้านของฐานมี่แผ่นศิลาสลักลวดลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ สลับกับแผ่นหินอ่อนที่เล่าพระราชประวัติของพระองค์ และประวัติการก่อสร้างพระสถูปเจดีย์ฯ ซึ่งจะมีประชาชนแวะเวียนมากราบไหว้สักการะ องค์พระสถูปเจดีย์ฯ อยู่เสมอ และรอบๆ บริเวณสถูปพระเจดีย์จะมีบรรดาไก่ที่เป็นปูนปั้นตั้งอยู่เต็มบริเวณ เพราะส่วนใหญ่ผู้คนที่มากราบไหว้ มักจะนำไก่มาถวายท่าน ด้วยเชื่อว่าพระองค์รักการชนไก่ และด้านหลังขององค์พระสถูปเจดีย์ฯ จะเป็นที่ตั้งของ "ค่ายหลวงที่ประทับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" (จำลอง) ที่ทางกรมศิลปากรจัดสร้างขึ้น ซึ่งภายในค่ายจำลอง มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา ประดิษฐานอยู่ให้กราบไหว้
03 เมษายน 2564 |
![]() | 03 เมษายน 2564 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (4 รายการ)